วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรื่องอินเตอร์เน็ต

ใบงาน เรื่องอินเตอร์เน็ต
ใบงาน เรื่องอินเตอร์เน็ต
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1.อินเตอร์เน็ต คือ
ตอบ อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิอีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
2.จงอธิบายพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตมาพอสังเขป
ตอบ อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ArpA net เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)
ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา(Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET และพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต
สำหรับประเทศไทย นั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อ เดือนสิงหาคม 2535
ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้
3.การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตต้องทำอย่างไรบ้าง
ตอบ การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
• เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
• เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
• เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
• สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
• อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็นGateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง
การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
- การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบtext เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)
4.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตต่อไปนี้
4.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
ทำหน้าที่ ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
4.2 โมเด็ม
ทำหน้าที่ โมเด็น (Modem)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย
โมเด็ม (Modem: Modulator – DEModulator)
โมเด็มเป็นอุปกรณ์การสื่อสารชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์เป็นช่องทางสื่อสารข้อมูลโดยหน้าที่ของโมเด็ม คือ การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นข้อมูลอนาล็อกเพื่อให้ข้อมูลสามารถเดินทางไปตามสายโทรศัพท์ได้และเมื่อไปถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางก็จะมีโมเด็มอีกตัวแปลงข้อมูลลอนาล็อกให้กลับเป็นข้อมูลดิจิตอลแล้วส่งเข้าไปประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการให้ระบบเครือข่ายของตนสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องติดตั้งโมเด็มด้วยเสมอ (ยกเว้นองค์การที่มีการเช่า Leased Line)
ในปัจจุบันมีโมเด็มให้เลือกใช้อยู่ 3 ชนิด คือ โมเด็มแบบอินเทอร์นอลโมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล และโมเด็มแบบไร้สาย
® โมเด็มแบบอินเทอร์นอล
โมเด็มแบบอินเทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นแผงวงจรติดตั้งอยู่ภายในเคส (Case) ดังนั้นชื่อของโมเด็มชนิดนี้จึงเรียกว่า โมเด็มแบบอินเทอร์นอลนั่นเองราคาของโมเด็มอินเทอร์นอลนั้นถูกกว่าแบบเอ็กซ์เทอร์นอลมาก แต่มีหน้าที่การทำงานเหมือนกันและข้อเสียตรงที่การติดตั้งยากและเคลื่อนย้ายไม่สะดวกตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (a)
® โมเด็มแบบ เอ็กซ์เทอร์นอล (External modem)
โมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกมาต่างหากไม่ใช่เป็นการ์ดเหมือนอินเทอร์นอลอาศัยช่องเสียบด้านหลังเคส (Case) ที่เรียกว่า “พอร์ต (Port)” เป็นจุดเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดซึ่งการเลือกซื้อโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลผู้ซื้อจะต้องพิจารณาที่พอร์ตด้วยว่าใช้เชื่อมต่อกับพอร์ตแบบใด เช่น พอร์ต USB หรือพอร์ต Serial เป็นต้นส่วนราคาของโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลจะสูงกว่าแบบอินเทอร์นอลแต่มีข้อดีคือติดตั้งและเคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่ายกว่าตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (b)
® โมเด็มแบบไร้สาย (Wireless Modem)
โมเด็มแบบไร้สาย ใช้การสื่อสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ปัจจุบันจะมีราคาสูงกว่าโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลและอินเทอร์นอลตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (c)
4.3 โทรศัพท์
ทำหน้าที่ เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.4 ซอฟต์แวร์
ทำหน้าที่ เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.5 ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
ทำหน้าที่ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider คือ หน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป
ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด
5.อธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1.1 E-Mail วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล
ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com
ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้
ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท
ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึงcommercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
1.2 FTP รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย 1.3 Search Engine โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป 1.4 Blog เว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน 1.5 Chat การพูดคุยออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจใช้โปรแกรมแตกต่างกันไปค่ะ เช่น MSN, Google talk, Yahoo Messenger, Skype
Chat Room (ห้องสนทนา) คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความถึงกัน โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วแม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ในทันที ไม่จำกัดอายุและเพศ ซึ่งการเข้าไปสนทนาเราจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่นwww.sanook.comwww.pantip.com เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนได้ ไม่ว่าจะเพื่อความรู้ หรือบันเทิง
6.ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
ใช้สำหรับ………
ประกอบด้วย
1 ….
2 ….
3 ….
7.การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน สามารถทำได้อย่างไร เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้ บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น
8.จงบอกหลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่ รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่
Web search engine ที่นิยมใช้กันมากที่สุด 3 อันดับ คือ 1. Google 2. Yahoo 3. MSN/Windows Live……………………………………………
9.จงบอกขั้นตอนการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ(คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป……………………………………………………………………………………………………………………….
10.การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser สามารถทำได้อย่างไร
ครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในระบบเครือข่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการชนิดของ Search engine
11.จงยกตัวอย่างโปรแกรมสนทนาบนเครือข่ายมา 1 โปรแกรม พร้อมทั้งอธิบายการทำงานของโปรแกรมนั้น
โปรแกรมเพิร์ท (PIRCH)
PIRCH เป็นโปรแกรมสนทนาประเภท Internet Relay Chat ที่ใช้เชื่อมต่อเข้าไปยัง Server ที่ให้บริการ การสนทนาจะทำเหมือนกับการส่งข้อความ (Message) คุยผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราเรียกวิธีนี้ว่า การแชท (Chat) เมื่อต้องการสนทนาจะต้องเปิดเข้าที่โปรแกรม PIRCHเท่านั้น
ประโยชน์ของ PIRCH ก็เหมือนกับโปรแกรมอื่น ๆ ที่คุยกันได้ทีละหลาย ๆ คนในครั้งเดียว สามารถส่งรูปหากันระหว่างเรากับเพื่อนสนทนาได้ ภายในโปรแกรมยังแบ่งเป็นห้องสนทนาย่อย ๆ ตามความสนใจของผู้เล่น จะคุยเป็นการส่วนตัว (เราเรียกกันว่าซิป) หรือจะคุยผ่านหน้าห้องนั้น ๆ ก็ได้ ตัวอย่างห้องสนทนาในโปรแกรม เช่น ห้องคนน่ารัก ห้องคนขี้เหงา ห้องผู้หญิงทำงาน หรือรวมไปถึงห้องขายบริการ ฯลฯ

คำถามส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และซอพแวร์

  1. ข้อใดเป็นลักษณะของซอฟต์แวร์ประยุกต์
    1.   เป็นซอฟต์แวร์ที่หน่วยงานสร้างและพัฒนาขึ้นใช้เอง
    2.   สร้างขึ้นเพื่อเป็นซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการ
    3.   สร้างขึ้นเพื่อใช้ในสำนักงานทั่วไป โดยบริษัทที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ
    4.   เป็นซอฟต์แวร์ประเภทภาษาคอมพิวเตอร์ ใช้สร้างโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง
  2. ศูนย์กลางของระบบเครือข่าย Internet มักใช้ซอฟต์แวร์ข้อใดเป็นระบบปฏิบัติการ
    1.   Windows Xp
    2.   Windows 98
    3.   DOS
    4.   UNIX
  3. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสร้างโปรแกรมประยุกต์งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ คือ
    1.   C, C++
    2.   COBOL
    3.   Visual BASIC
    4.   JAVA
  4. โปรแกรมทางด้าน Graphic ใช้งานด้านใด
    1.   ด้านการออกแบบ เขียนแบบ วาดภาพ
    2.   ด้านการพิมพ์เอกสาร
    3.   ด้านการติดต่อฐานข้อมูล
    4.   ด้านการออกแบบงานทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม
  5. ข้อใดเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับต่ำ (Low-level Language)
    1.   Pascal
    2.   C, C++
    3.   Assembly
    4.   Visual BASIC
  6. ข้อใดไม่ใช่ซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการ (Opteration System : OS)
    1.   Microsoft Office 2003
    2.   Microsoft DOS 6.22
    3.   Microsoft Windows Xp
    4.   Linux
  7. เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ประเภทใด
    1.   ซอฟต์แวรประมวลคำ (word processing software)
    2.   ซอฟต์แวร์ระบบ (system software)
    3.   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
    4.   ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software)
  8. ข้อใดเป็นชื่อซอฟต์แวร์ประเภทนำเสนอผลงานเป็นสไลด์ผ่านคอมพิวเตอร์
    1.   Microsoft Word
    2.   Microsoft Excel
    3.   Microsoft PowerPoint
    4.   Microsoft Access
  9. ข้อใดเป็นชื่อซอฟต์แวร์ประเภท Spreadsheet Software
    1.   Microsoft Access
    2.   Microsoft Excel
    3.   Microsoft Word
    4.   Microsoft PowerPoint
  10. ลักษณะสำคัญของระบบปฏิบัติการ DOS : Disk Operating System คือข้อใด
    1.   ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยคำสั่งภาพกราฟิก (Graphic User Interface)
    2.   ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยคำสั่งที่เป็นข้อความ (Text Mode)
    3.   เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Multi Tasking
    4.   เป็นระบบปฏิบัติการจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ข้อสอบ o-net เรื่องคอมพิวเตอร์

ข้อที่ 1)  หากต้องการนำภาพเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ต้องใช้อุกรณ์ใด
   ก.กล้องเว็บแคม
   ข.กล้องดิจิตอล
   ค.เครื่องแสกน
   ง.ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 2)  ซอฟต์แวร์ หมายถึงอะไร
   ก.โปรแกรมหรือคำสั่งที่ให้เครื่องทำงาน
   ข.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   ค.เคส
   ง.จอภาพ

ข้อที่ 3)  เมื่อเลิกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำไมต้องดึงปลั๊กไฟฟ้าออก
   ก.ประหยัดไฟฟ้า
   ข.ป้องกันฟ้าผ่า
   ค.ป้องกันข้อมูลสูญหาย
   ง.ไม่มีผลใด ๆ ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อที่ 4)  ถ้าต้องการวาดภาพ ควรใช้โปรแกรมใด
   ก.Paint
   ข.Ms.Word
   ค.Ms.Excel
   ง.Ms.Power Point

ข้อที่ 5)  อุปกรณ์ชิ้นใด ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล
   ก.คีย์บอร์ด
   ข.มอนิเตอร์
   ค.เมาส์
   ง. CPU

ซอพแวร์ระบบ และ ซอพแวร์ประยุคต์







5.2 ซอฟต์แวร์ระบบ


       คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
       คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพ ให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนซอฟต์แวร์ระบบทั้งสิ้น
       เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงาน ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ (load) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น














ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

 Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้


ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
          1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์









ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็
สะดวกขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  ที่เห็นง่ายๆ เลย ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานกันอยู่ดีกว่า
 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หลักๆ
รู้กันมั้ยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ
4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ
จอภาพ หรือ monitor เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขายคอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของโน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที

 


เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย

 

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 

คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง

 

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

 

เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด

 

ซีพียู (CPU) มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อนข้อมูลลงไป







1.   ข้อใดไม่ใช่ ขั้นตอนหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์

   ก.  ประมวลผล            ข.  เก็บข้อมูล   

ค.  รับข้อมูล               ง.  แสดงผลลัพธ์      

จ.  นำข้อมูลเข้า (คนที่จะนำข้อมูลเข้าได้ก็คือ User ค่ะ)

2.  หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า

   ก.  บิต    ( 1 กับ 0)            ข.  ไบต์      

ค. ฟิลด์                ง.  เร็คคอร์ด   

จ. ไฟล์   

3.  ข้อมูลเมื่อผ่านการประมวลผลแล้ว จะได้อะไร

   ก.  Document            ข.   Report   

ค.  Information            ง.  Output 

จ.  Database

4.  สัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณชนิดใด

   ก.  อนาล็อก               ข.  ดิจิตอล   

ค.  ไฮบริค               ง.  ไฟฟ้า

จ. อิเล็กทรอนิกส์

5. สิ่งใดที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทำได้

   ก.  การเปิดกล่องระเบิด            ข.  การเลือกผลไม้

   ค.  การก่อการร้าย            ง.  การปอกเลือกไข่ต้ม  

จ.  การเก็บกู้ระเบิด








สถานที่ท่องเที่ยว

หาดหัวหิน

1. ชายหาดหัวหิน มาแล้วพลาดไม่ได้ที่นี่ ชายหาดหัวหิน หาดทรายสีขาวและน้ำทะเลใสสะอาด บริเวณแหลมหินซึ่งอยู่ปลายหาดด้านหนึ่งจะมีโขดหินขนาดต่างๆ

ชายหาดหัวหิน

2. สถานีรถไฟหัวหิน สถานีรถไฟแห่งนี้ เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ของ อ.หัวหิน จุดเด่นก็คือ สถานี้แห่งนี้ยังคงรูปแบบของสถานีแบบสมัยก่อนที่สร้างตัวอาคารด้วยไม้.......

สถานีรถไฟหัวหิน

3. เพลินวาน หัวหิน แต่งตัววินเทจ ไประลึกถึงความหลัง วันวาน อันแสนหวาน ความทรงจำที่คุณไม่ควรพลาด กับสถานที่ท่องเที่ยวชิกๆชิลๆอีกแห่งที่นี่.......

เพลินวาน หัวหิน


4. ชายหาดเขาตะเกียบ หัวหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบชมความงามของท้องทะเล ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองหัวหิน นั่งรถมาทางทิศใต้....... อ่านต่อได้ที่ : 

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


 



ข้อที่ 1)
ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์
   ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
   ข้อมูล (Data)
   ซอฟต์แวร์ (Software)
   ไม่มีข้อใดถูก

ข้อที่ 2)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือเรียกอีกชื่อว่า
   ไมโครคอมพิวเตอร์
   ไมโครชิป
   ไมโครโปรเซสเซอร์
   ถูกทั้งข้อ 1. และ 2.

ข้อที่ 3)
ข้อใดคือหน่วยความจำหลัก
   แรม (RAM)
   รอม (ROM)
   Flash Bios
   ถูกทั้งข้อ 1. และ 2.

ข้อที่ 4)
ข้อใดคืออุปกรณ์รับข้อมูลทั้งหมด
   ไมโครโฟน เมาส์ คีย์บอร์ด 
   คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์ 
   ลำโพง เมาส์ จอภาพ
   ถูกหมดทุกข้อ

ข้อที่ 5)
ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูล
   เทปแม่เหล็ก ดิสก์เก็ต ซีดี
   ฮาร์ดดิสก์ ดีวีดีรอม ซีดี
   ฮาร์ดดิสก์ เทปแม่เหล็ก ดิสก์เก็ต
   ไม่มีข้อใดถูก

ข้อที่ 6)
ข้อใดหมายถึงซอฟต์แวร์ระบบ
   Operating System
   User Program
   System Operating
   Microsoft Powerpoint

ข้อที่ 7)
ข้อใดหมายถึงโปรแกรมประยุกต์
   โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง
   โปรแกรมสำเร็จรูป
   ถูกทั้งข้อ 1. และ 2.
   ไม่มีข้อใดถูก

ข้อที่ 8)
ข้อใดคือโปรแกรมสำเร็จรูป
   โปรแกรมระบบบัญชี
   Microsoft Excel
   Photoshop
   ถูกหมดทุกข้อ

ข้อที่ 9)
ข้อใดคือผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ
   Programmer
   System Analysis
   System Network
   System Designer

ข้อที่ 10)
นักเขียนโปรแกรมระบบมีหน้าที่ในข้อใด
   เขียนและแก้ปัญหาระบบงาน
   เปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบที่เขียนไว้เดิม
   เขียน ทดสอบโปรแกรมระบบ
   เขียน ทดสอบ แก้ไขปรับปรุงโปรแกรม